เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ได้จัด “งานประชุมเชิงปฎิบัติการ ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนการพัฒนาระบบการดูแลเด็กทางเลือกโดยใช้ครอบครัวทดแทน” ขึ้น โดยมีเครือข่ายที่ทำเรื่องนี้อย่างจริงจังจากสองจังหวัด คือ นนทบุรี และชุมพร มาร่วมนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน เพื่อนำข้อสรุปและข้อเสนอที่ได้จากการประชุมไปผลักดันในระดับนโยบายที่มีการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบการดูแลเด็กทางเลือก โดยใช้กลไกครอบครัวทดแทนต่อไป

ปิดท้ายของการประชุมได้มีการเชิญคุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ มาร่วมแลกเปลี่ยนและชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของครอบครัวบุญธรรม และครอบครัวอุปถัมภ์(ครอบครัวทดแทน) ว่า

“ครอบครัวบุญธรรม หมายถึงครอบครัวที่รับเด็กไปดูแลถาวร เพราะต้องการมีลูกแต่ไม่สามารถมีได้ เขาจะเลี้ยงดูและทำทุกอย่างกับเด็กเหมือนเป็นลูกจริงๆ  แต่ครอบครัวอุปถัมภ์ จะรับดูแลเพียงชั่วคราว มีเป้าหมายเพื่อต้องการช่วยเหลือเด็ก การทำงานกับครอบครัวอุปถัมภ์เราต้องทำความเข้าใจกับครอบครัวเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเด็กว่าไม่ใช่พ่อแม่ลูกที่แท้จริง  ต้องมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการดูแลเด็ก เพราะเมื่อเด็กอยู่ได้สักระยะก็จะต้องย้ายออกไปอยู่กับครอบครัวเดิมของตน หากครอบครัวเดิมมีความพร้อมที่จะรับเด็กกลับไปดูแล ดังนั้นการทำงานจึงต้องมีการประเมินครอบครัวทั้งครอบครัว ดูสถานที่ สภาพแวดล้อมของครอบครัว ว่าเอื้อต่อการบำบัดฟื้นฟูหรือไม่”

: 285