มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ขอนำเสนอกิจกรรมสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบสำหรับเด็กในหลายช่วงวัย เพื่อเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและยังสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย กับชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ “เล่นอยู่บ้าน ต้านโควิด-19” บ้านเป็นสุข ไร้ความรุนแรง  

ตอนที่ 2  หาปลา วิถีพอเพียง เพียงพอ

ช่วงสถานการณ์โควิด-19 แบบนี้  เริ่มมีความกังวลหลายอย่าง   ผู้คนเริ่มกักตุนอาหารในขณะที่อาหารมีราคาแพงขึ้นและต้องเสี่ยงไปซื้ออาหารในแหล่งชุมชนแออัด   ผู้คนถูกให้หยุดงาน    ไม่มีรายได้ ทางรอดที่ปลอดภัยหากใครที่มีบ้านอยู่ในชนบท   คือ การใช้ชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง กินอยู่ใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวในครัวเรือนทำให้เด็กและครอบครัวมีชีวิตชีวาได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9  ที่ช่วยให้เราเกิดความมั่นคงทางอารมณ์จิตใจ    อยู่รอดปลอดภัยและคลายกังวลได้ในสภาวะเช่นนี้

อุปกรณ์

  1. ตาข่าย
  2. แห
  3. สวิง
  4. ถังน้ำ
  5. เสื้อผ้าชุดเก่าๆ หมวกกันแดด กระติกน้ำดื่ม
  6. จอบ
  7. มีด ตะขอเกี่ยวหญ้า

วิธีการ

  1. เตรียมเสื้อผ้าเก่าสำหรับลุยให้เต็มที่
  2. สำรวจบริเวณรอบๆสระ เพื่อดูพื้นที่ ระดับน้ำ ดึงหญ้าหรือสวะริมบ่อขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ สามารถจับปลาได้ง่ายขึ้นและมีความสะดวกในการวางข่าย เหวี่ยงแหหาปลา
  3. ค่อยๆเดินลงไปสัมผัสน้ำ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับเหวี่ยงแหหรือตาข่ายสำหรับดักปลา สำหรับการวางตาข่ายดักปลาต้องวางฝั่งตรงข้ามของบ่อและพักรอสักครู่ให้อีกคนใช้ไม้ฟาดริมน้ำเพื่อไล่ปลาให้ตกใจแล้ววิ่งมาติดตาข่ายให้อยู่กลางบ่อ
  4. สังเกตว่าตาข่ายติดปลาจะมีการกระตุก ให้ลงน้ำไปจับปลาที่ติดตาข่ายปลดออกมาใส่ฆ้องไว้และนำแหไปหว่านในจุดที่มีปลาผุด ลงน้ำไปลอยคองมและจับปลามาใส่ฆ้อง
  5. ได้ปลาพอสมควรแล้วก็นำอุปกรณ์ต่างๆทำความสะอาดและนำปลากลับไปที่บ้านเพื่อทำอาหารรับประทานร่วมกัน ปลาที่เหลือจากการทำอาหารก็จะขังไว้เพื่อใช้ทำอาหารในมื้อวันถัดไปหากปลาตัวไหนตายก็นำมาถนอมอาหารโดยการทำปลาเค็มไว้
  6. หลังจากเสร็จกิจกรรมพูดคุยกับเด็กในครอบครัวเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความคิดจากประสบการณ์ใหม่ความรู้สึกจากการได้ไปจับปลาหาปลาในพื้นที่ของตัวเอง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำให้เรารู้จักพอ รอดพ้นจากภาวะวิกฤตโควิด19 จากการที่เราได้อยู่บ้านและไม่ต้องออกไปหาอาหารที่ไกลบ้านในชุมชนที่มีแออัดความเสี่ยงแต่เราหาอาหารจากสิ่งที่เราปลูกสิ่งที่เราเลี้ยงเอง เอาไว้กินไว้ใช้ในครัวเรือนทำให้เราประหยัดและปลอดภัย นอกจากนี้กิจกรรมหาปลาทำให้เด็กได้เล่นน้ำและผ่อนคลาย สดชื่นมีชีวิตชีวา เรียนรู้ทักษะชีวิต การพึ่งพาตนเองและธรรมชาติ เกิดภาคภูมิใจที่หาอยู่หากินได้ด้วยตนเองภูมิใจในวิถีชีวิตของตนเอง
: 285