การปกป้องคุ้มครองเด็ก ให้ปลอดภัยจากความรุนแรงทุกรูปแบบ เป็นหน้าที่ของพวกเรา (ผู้ใหญ่) ทุกคนในสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างอยู่ดี มีสุขและปลอดภัย เริ่มต้นจากคนในครอบครัว จนถึงคนในสังคม
ครอบครัว
- เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย เช่น
- วัยเด็กเล็ก วัยนี้จะสำรวจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย และเด็กต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองในระยะเอื้อมมือถึงหรือในสายตาเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายจากบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย
- วัยประถม คอยแนะนำให้เด็กประพฤติปฏิบัติในเรื่องที่ไม่ก่ออันตรายแก่ตนเอง ไม่ควรให้ไปไหนตามลำพัง
- วัยมัธยม สอนให้เด็กประเมินสถานการณ์อันตรายจากบุคคลต่างๆ รู้จักระมัดระวัง หลีกเลี่ยงหรือหลบหลีก และขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ได้
- เข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็ก หากมีปัญหาให้ค้นหาสาเหตุ และวิธีการแก้ไข
- ปรับทัศนคติ ไม่กล่าวโทษหรือลงโทษเด็ก แต่ควรหาวิธีการช่วยเหลือ
- รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง และจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการซื้อของเล่นที่รุนแรงให้เด็ก
- หลีกเลี่ยงการเสพสื่อที่มีความรุนแรง ทั้ง เกม วีดีโอ ทีวี ออนไลน์
โรงเรียน
- สังเกตพฤติกรรมเด็กรายบุคคล หากพบปัญหาการใช้ความรุนแรง หรือมีปัญหาด้านอารมณ์ ให้ค้นหาสาเหตุและวิธีการแก้ไข
- จัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็กด้วยกัน และครูกับเด็ก
- จัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
- มีนโยบายหรือมาตรการการจัดการเรื่องการรังแกกันในโรงเรียนอย่างจริงจัง
ชุมชน
- ผู้ใหญ่ในชุมชนร่วมมือกันดูแลเด็ก เฝ้าระวัง สังเกตเด็กที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน หากพบสิ่งผิดปกติ โทรแจ้ง 1300
- จัดกิจกรรมที่พ่อแม่ผู้ปกครองของทุกครอบครัวสามารถเข้าร่วมได้
- จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาเด็กช่วงหลังเลิกเรียนหรือปิดเทอม โดยมีผู้ใหญ่ในชุมชนหมุนเวียนกันมาดูแล
สังคม
- ระมัดระวังพฤติกรรมของตนเองไม่ก่ออันตรายให้แก่เด็กหรือบุคคลอื่น
- เป็นหูเป็นตา คอยสังเกตถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเด็กที่อยู่รอบตัว หากพบสิ่งผิดปกติ โทรแจ้ง 1300
สื่อมวลชน
- ไม่ควรเผยแพร่ภาพ ข้อความ หรือเสียงที่อาจจะก่ออันตรายแก่พัฒนาการ อารมณ์และจิตใจของเด็ก
- ไม่ผลิตซ้ำความรุนแรง ด้วยการแผร่ภาพเสียง วีดีโอ ของเหตุการณ์ที่รุนแรงซ้ำๆ
- ไม่ควรนำเสนอข่าวในลักษณะของการประจานเด็กหรือครอบครัว
- ควรมีการควบคุมจริยธรรมหรือมาตรฐานทางวิชาชีพของสื่อมวลชนในด้านการนำเสนอข้อมูล ภาพ เกี่ยวกับเด็กอย่างจริงจัง
ข้อมูลและอินโฟกราฟิกโดย มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
โทรศัพท์ 0-2412-0739 www.thaichildrights.org
931