กิจกรรมและโครงการ
#ช่วยน้องให้ปลอดภัย
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญทอดผ้าป่า “ช่วยน้องให้ปลอดภัย” สมทบทุนการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ
เด็กปลอดภัยด้วยความใส่ใจของชุมชน
เมื่อวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2565
#รวมพลังเด็กจัดการเจ้าปีศาจความไม่ปลอดภัยในสังคม
#รวมพลังเด็กจัดการเจ้าปีศาจความไม่ปลอดภัยในสังคม ผู้บริหาร คณะครู และคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนวัดใหญ่

ศฺิลปะเด็กสุขใจ บ้านนี้ไม่มีความรุนแรง
"เล่นแบดมินตันกับแม่ที่หน้าบ้าน" "เดินเล่นกับพ่อแม่" "ปลูกต้นไม้ยามเย็นกับแม่" "อยากให้พ่อเลิกเหล้า และไม่อยากให้มีข่าวฆ่าชิงทรัพย์บ่อยๆ" เมื่ออาสาถามเด็กถึงช่วงเวลาที่เด็กๆ อยู่กับคนในครอบครัวแล้วมีความสุข
เปิดบ้านพาเพลินวันแรก หลังพ้นช่วงโควิด เด็กกลับมาสนุกอย่างอิสระ
1 ปีกว่า ที่ต้องปิดบ้านพาเพลินเป็นการชั่วคราวอย่างไม่มีกำหนด เพราะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 จึงต้องปรับรูปแบบเป็นทำกิจกรรมบนออนไลน์แทน แต่ก็ไม่อาจชดเชยกับความสนุกตามธรรมชาติของเด็กที่อยากเจอหน้าและเล่นด้วยกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์กันจริง
คลังความรู้
Infographic สอนลูกจัดการอารมณ์ด้านลบหรือปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง
หากผิดหวัง โกรธ เสียใจ ไม่ได้ดังใจ แทนที่จะจัดการด้วยอารมณ์ด้านลบด้วยความรุนแรง จะทำยังไงให้ผ่านพ้นพายุอารมณ์ตรงนั้นไปได้อย่างไม่ต้องเกิดผลกระทบรุนแรง โดยเฉพาะต่อคนอื่นๆและตัวเอง 1) พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างของการไม่ใช้อารมณ์และความรุนแรงตัดสินปัญหา แน่นอน ครอบครัวเป็นจุดแรกที่เด็กสัมผัส ถึงจะเป็นเด็กที่มีพื้นอารมณ์ร้อน ถ้าผู้ใหญ่รอบข้างเป็นตัวอย่างให้เห็น สมมติพ่อของเด็กเป็นคนใจร้อนมาก เวลาโกรธแม่
Infographic ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก
ปัจจัยป้องกันที่จะทำให้ครอบครัวไม่ทำร้ายเด็ก พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะมีลักษณะดังนี้ ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความมั่นคงทางอารมณ์ รู้ทันว่าตนเองกำลังรู้สึกอย่างไรและสามารถจัดการกับความรู้สึกหรืออารมณ์เหล่านั้นด้วยตนเองได้ เช่น รู้ว่าตนเองเหนื่อย เครียด โกรธ จัดการตนเองได้ไม่ระบายอารมณ์กับเด็ก ถ้าจัดการเองไม่ได้ สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ผู้เลี้ยงดูเติบโตในครอบครัวที่ได้รับความรัก ความใส่ใจ เห็นอกเห็นใจในความรู้สึกของกันและกัน จะทำให้ไวกับความรู้สึก
มัลติมีเดีย
เนื่องในโอกาส “วันสิทธิเด็กสากล” ซึ่งตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี และในปี 2565 ครบรอบ 30 ปีที่ประเทศไทยร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ได้จัดทำคลิปวิดีโอชุดพิเศษ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก เพื่อเสนอข้อคิดเห็นต่อการทำงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็กและคุ้มครองเด็กในประเทศไทย คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ อดีตกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติและอดีตประธานมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ได้เสนอข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานภาครัฐ ไว้อย่างน่าสนใจ
“..ขอร้องหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการใช้มาตรการทางการบริหาร มาตรการทางสังคม และมาตรการทางการศึกษา เพื่อทำให้เกิดระบบคุ้มครองเด็ก ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ที่จะทำให้เกิดระบบคุ้มครองเด็กอย่างแท้จริง..”