เด็กหรรษา ในค่ายเด็กกับธรรมชาติ#1
ต้นเดือนพฤษภาอากาศกำลังดี เริ่มจะมีฟ้าฝน ต้นไม้เขียวชอุ่ม เรากับเพื่อน ๆ ที่ทำงานจัดค่ายเด็กกับธรรมชาติกัน 3 วัน 2 คืน ที่สระบุรี เด็ก ๆ 17 ชีวิต รวมกับพวกเราเจ้าหน้าที่พี่ป้าน้าอาและอาสาสมัครรวมทั้งหมด 26 ชีวิต ได้ร่วมผจญภัยและใช้เวลาดี
เมื่อผู้ใหญ่คิดว่าเด็กเต็มใจ
เมื่อผู้ใหญ่คิดว่าเด็กเต็มใจ ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา มูลนิธิศานติวัฒนธรรม เชียงใหม่ ไม่กี่วันมานี้มีข่าวเรื่องครูพานักเรียนไปเข้าโรงแรมอีก เกิดขึ้นที่จังหวัดสุรินทร์ ผู้เขียนข่าวได้พาดหัวว่า “ตั้งข้อหาครูอนาจารนักเรียน พรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย” รายละเอียดในข่าวยังบอกอีกว่าครูคนนี้มีพฤติกรรมแบบนี้กับนักเรียนอีกหลายคน และผู้อำนวยการโรงเรียนยังพยายามติดต่อผู้ปกครองขอให้ยุติเรื่องเพื่อปกป้องชื่อเสียงของโรงเรียนไม่ให้เสื่อมเสียอีกด้วย ข่าวเรื่องแบบนี้จะมีออกมาเป็นระยะตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ และการจัดการแก้ปัญหาก็จะทำอย่างเดิม คือกระทรวงศึกษาฯ ก็จะลงโทษครูทางวินัย
ประสบการณ์ใหม่ของสภานักเรียน กับการทำงานโครงการป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน
ปี 2564 มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กได้พัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมป้องกันการรังแกกันสำหรับครู เพื่อนำไปใช้กับนักเรียน โดยมีทั้งการจัดกิจกรรมแบบออนไลน์ และ การจัดกิจกรรมแบบ on site และมีแผนที่จะสนับสนุนโรงเรียนให้นำเอาคู่มือกิจกรรมไปใช้กับนักเรียน แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายโรงเรียนไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่วางไว้ แต่ก็มีบางโรงที่ทำกิจกรรม และมูลนิธิฯได้เข้าไปร่วมสนับสนุนช่วยเหลือ และเห็นถึงบทเรียนที่น่าสนใจสำหรับการทำกิจกรรมป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน โรงเรียนสามพาดพิทยาคาร จังหวัดอุดรธานี เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีแผนว่าจะทำกิจกรรมป้องกันการรังแกกันให้กับนักเรียน การดำเนินงานโครงการนี้มีบุคลากรครูเป็นทีมงานจำนวน
ครูภูมิใจนะ
#ครูภูมิใจนะ "ป้าปู ป้าปูพาหนูไปเดินเล่นด้วยน้า" เมื่อเช้าก่อนออกจากบ้านมาทำงานข้างนอก เด็ก ๆ ร้องกันระงมเลยว่าให้พาไปชมนกชมไม้ก่อน เริ่มติดใจและคุ้นชินกับการเดินและชื่นชมธรรมชาติกันแล้วล่ะซีเด็กน้อย พอเดินกลับมาทุกคนต่างรู้หน้าที่ อาบน้ำ ช่วยงานบ้านและเอาเสื้อผ้ากับเครื่องนอนไปซักก่อนที่จะเริ่มเรียนออนไลน์กัน เราช่วยเด็กน้อยหยิบจับเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนใหญ่เด็กลงมือซักเองจัดการเอง นั่งมองดูแล้วเอ็นดูเด็กเหลือเกิน จำได้ว่าตอนเรายังเด็กอายุเท่านี้ยังวิ่งเล่นสนุกสนาน ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยซักอย่าง
โพสต์รูปลูกลงโซเชียล แบบไม่ละเมิดสิทธิเด็ก
เรื่องการโพสต์รูปหรือเรื่องราวของลูกบนโซเชียล ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันในขณะนี้ สำหรับผู้เขียนคิดว่านับเป็นเรื่องดีที่มีตัวอย่างของพ่อแม่ที่ตระหนักและใส่ใจต่อเรื่องสิทธิของเด็ก และทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของลูกตนอย่างเต็มที่ แม้พ่อแม่จะเป็นผู้ให้กำเนิดและเป็นผู้ดูแลเด็ก แต่ใช่ว่าพ่อแม่จะมีสิทธิทำทุกอย่างเกี่ยวกับลูกของตนเอง เพราะเด็กๆ มีสิทธิเป็นของตนเอง มีสิทธิส่วนบุคคล ที่มีกฎหมาย*รับรองและปกป้องคุ้มครองเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ดังนั้นการที่พ่อแม่จะทำสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับลูกหรือเด็กในความดูแล ควรได้รับความยินยอม ได้รับการอนุญาตหรือความยินยอมจากเด็กด้วย หรือให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกระทำนั้นๆ ด้วยตนเอง และพ่อแม่ควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ กรณีการโพสต์รูปหรือเรื่องราวของลูกลงบนสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ก็เช่นเดียวกัน
นักเรียนหยุดเรียน…แต่ความปลอดภัยในโรงเรียนหยุดไม่ได้
ปีนี้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย เด็กๆ ส่วนใหญ่เรียนระบบออนไลน์หรือทำงานจากชุดการเรียนที่แต่ละโรงเรียนออกแบบให้กับนักเรียนตามบริบทของแต่ละโรงเรียน แม้เด็กๆ จะหยุดเรียนอยู่บ้าน แต่คุณครูหลายๆ คนในโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนคุ้มครองเด็ก ต้องสลับหมุนเวียนกันเข้ามาปฏิบัติงานในโรงเรียน โดยหนึ่งในเหตุผลที่คุณครูต้องเข้ามาในโรงเรียน คือ เรื่อง “ความปลอดภัย….ในโรงเรียน” โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากแหล่งทุนPartage ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีเครือข่ายโรงเรียนคุ้มครองเด็ก 132
การรังแกไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
จากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ยอดของผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากขึ้นในทั่วภูมิภาค มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กจึงต้องมีการปรับวิธีการทำงาน จากการลงพื้นที่โรงเรียน และชุมชนต่างๆ เป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ขึ้น ซึ่งหลักสูตรการป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน ก็เป็นหนึ่งในหลักสูตรที่มูลนิธิฯได้จัดขึ้น ซึ่งหลายโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมอบรมออนไลน์ ก็ได้นำไปต่อยอดทำกิจกรรมกับบุคลากรครู และนักเรียนในโรงเรียนของตนเองในรูปแบบที่ต่างกันออกไป คุณครูมลฤดี คำภาษี คุณครูโรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม จังหวัดอุดรธานี ได้นำไปขยายผลกับโรงเรียน โดยเริ่มจากสร้างความเข้าใจให้บุคลากรครูเข้าใจถึงความหมายและรูปแบบการรังแก วิธีการป้องการรังแกกัน