จากข้อกําหนดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ มีเนื้อหาสาระในการดูแลเด็กทุกคน โดยกําหนดให้ผู้ปกครองมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็ก ตามความในมาตรา ๒๓ ดังนี้

'มาตรา ๒๓ ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตน ตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณี และ วัฒนธรรมแห่ง ท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กําหนดในกฎกระทรวง และต้อง คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิด อันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ'

) หน้าที่ของผู้ปกครอง ที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้

๑. อุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน การอุปการะ เลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และพัฒนา ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงและเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น

๒. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน โดยไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย ต่อสภาพร่างกายและจิตใจ

๓. ไม่ทอดทิ้งเด็ก ผู้ปกครองจะต้องไม่ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล สถานที่สาธารณะหรือสถานที่ใดๆ โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กคืน

๔. ไม่จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจําเป็นแก่การดํารงชีวิตของเด็ก เช่น ด้านสุขภาพอนามัย ปัจจัยสี่ เป็นต้น

๕. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก

๖. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ

) หน้าที่ของรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้

๑. คุ้มครองเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็กจะมีผู้ปกครองหรือไม่มีผู้ปกครอง ก็ตาม

๒. ดูแลและตรวจสอบสถานรับเลี้ยงเด็กต่างๆ เช่น สถานสงเคราะห์เด็ก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน สถานพินิจที่ตั้งอยู่ในเขตอํานาจ เป็นต้น

ซึ่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐจะมุ่งเน้นการคุ้มครองทั้งในมิติการสงเคราะห์และการคุ้มครองสวัสดิภาพ ตลอดจนการปฏิบัติงานกับสภาพแวดล้อมของเด็ก เช่น ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน เพื่อให้เด็กสามารถอยู่ในสังคม หรือกลับคืนสู่สังคมที่สามารถคุ้มครองให้เด็กปลอดภัยและเลี้ยงดูเด็กให้ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม

ข้อมูล : การปฏิบัติต่อเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำในการดูแลเด็ก โดย นางณัฐวดี ณ มโนรม นักสังคมสงเคราะห์เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อินโฟกราฟิก โดย มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    : 285