ปัจจัยป้องกันที่จะทำให้ครอบครัวไม่ทำร้ายเด็ก พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะมีลักษณะดังนี้

  • ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความมั่นคงทางอารมณ์  รู้ทันว่าตนเองกำลังรู้สึกอย่างไรและสามารถจัดการกับความรู้สึกหรืออารมณ์เหล่านั้นด้วยตนเองได้ เช่น รู้ว่าตนเองเหนื่อย เครียด โกรธ  จัดการตนเองได้ไม่ระบายอารมณ์กับเด็ก  ถ้าจัดการเองไม่ได้ สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  • ผู้เลี้ยงดูเติบโตในครอบครัวที่ได้รับความรัก ความใส่ใจ เห็นอกเห็นใจในความรู้สึกของกันและกัน จะทำให้ไวกับความรู้สึก สามารถพูดเรื่องความรู้สึก และรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้
  • มีขอบเขตที่ดี ทั้งขอบเขตทางด้านร่างกาย  ด้านจิตใจ และด้านสังคม เช่น
    • ขอบเขตด้านร่างกาย รู้เรื่องพื้นที่ส่วนตัว  ให้ความช่วยเหลือเด็กตามวัย เช่น ช่วยเด็กอาบน้ำแต่งตัวในวัยเล็ก เมื่อเด็กโตให้เด็กทำเอง  เคารพความเป็นส่วนตัว และของผู้อื่น ไม่ล่วงล้ำ
    • ขอบเขตด้านจิตใจ ขออนุญาต และเคารพในการตัดสินใจของเด็ก
    • ขอบเขตด้านสังคม ให้เด็กพบเจอสังคมที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่เหมาะสมมาทำอันตรายกับเด็ก
  • จัดการพฤติกรรมโดยไม่ใช้ความรุนแรง จัดการพฤติกรรมของเด็กอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามวัย เช่น ใช้วิธีการเบี่ยงเบน การจูงใจเชิงบวก  หรือ ให้เด็กรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง เช่น การถูกตัดสิทธิ์ ถูกลงโทษ
  • เป็นแบบอย่างที่ดี สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
  • รู้และเข้าใจพัฒนาการของเด็ก ความต้องการตามวัย ข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน ที่ต้องการการดูแลแตกต่างกัน หากครอบครัวไม่เข้าใจสามารถของความช่วยเหลือที่จะทำให้สามารถดูแลเด็กได้ดีขึ้น
  • ผู้เลี้ยงดูเป็นที่พึ่ง ให้ความมั่นคงปลอดภัย เช่น  รับรู้ว่าเด็กกำลังมีความทุกข์  เด็กสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลได้

ข้อมูลจาก  : https://oscc.consulting/

อินโฟกราฟิกโดย : มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    265