ทุกวันนี้เรามีปัญหาการรังแกและแสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็กผ่าน Cyber มากขึ้นเรื่อยๆ จึงขอแนะนำวิธีการเลี้ยงดูเด็กเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ ดังนี้

1. หลักปฏิบัติที่ผู้ปกครองควรจะดำเนินการ มี 3 ประเด็นคือ การสร้าง Cyber literacy ให้แก่เด็ก การสร้างความผูกพันที่มั่นคง (Secure Attachment) ความไว้วางใจ (Trust) รับรู้ถึงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy) ระหว่างเด็กกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแล การกระตุ้นกระบวนการรู้คิด Cognitive Development โดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลและครู

2. การสร้างทักษะรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy Skills) จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้วิธี

2.1 กระตุ้น Cognitive Development  ตามกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก คือ

  • กระตุ้นให้เด็กรู้จักตั้งข้อสังเกต ตั้งข้อสงสัยและตั้งคำถามต่อเรื่องราวที่รับรู้หรือได้รับการถ่ายทอด
  • กระตุ้นให้เด็กนำเอาข้อสังเกต ข้อสงสัยและคำถามไปศึกษาค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
  • นำคำตอบที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับกลุ่มและผู้นำการศึกษา
  • ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน
  • Mapping หรือเรียบเรียงข้อสรุป จัดความสัมพันธ์ของความรู้ จนเกิดความกระจ่างแจ้งซึ่งจะกลายเป็นความจำถาวร โดยไม่ต้องท่อง

2.2 พัฒนากระบวนการรู้คิดที่เรียกว่า Cognitive Processes ซึ่งประกอบด้วย การมีสมาธิ (Attention) ความจำ (Memory) การคิดวิเคราะห์ วินิจฉัย การประมวลผลหาข้อสรุป การวางแผนไตร่ตรอง การจำแนกผิดถูกชั่วดี การคิดคำนวณชั่งน้ำหนักในเรื่องต่างๆ (Executive Function) และวุฒิภาวะทางสังคม (Social Cognition) คือ การคิดวิเคราะห์ วินิจฉัย การประมวลผลหาข้อสรุปเกี่ยวกับผู้คนและสังคมในการกำหนดความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น

3.การสร้าง Cyber literacy ให้แก่เด็ก ไม่ใช่สอนว่าเด็กควรทำอย่างไร หรือควบคุมจำกัดการใช้ Cyber ของเด็ก เพราะจะทำได้ก็ต่อเมื่อเด็กอยู่ในเขตที่ผู้ปกครองสามารถควบคุมเท่านั้น ดังนั้นการสร้าง Cyber literacy นอกจากทำตามตัวอย่างในข้อ 2 แล้ว ยังต้อง

1) ฝึกให้เด็กรู้จักจัดลำดับความสำคัญ อะไรควรทำก่อนอะไรควรทำทีหลัง

2) ฝึกให้เด็กรู้จักเลือกสิ่งที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ตนและสามารถวิเคราะห์ถึงการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับประโยชน์ (opportunity cost) จากสิ่งที่ไม่ได้เลือก

3) ฝึกให้เด็กรู้จักการตั้งเป้าหมายชีวิตและการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ ทั้งนี้อาจมีแผนสำรองหลายๆ แผน หากแผนแรกไม่สามารถกระทำต่อได้ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนเป้าหมายชีวิตได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปจากเดิมมาก

4) ฝึกให้เด็กใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตน โดยเฉพาะการร่วมกิจกรรมอาสาสมัครบำเพ็ญประโยชน์ที่จะก่อผลดีต่อการพัฒนาตนได้สูงที่สุด

5) ฝึกให้เด็กบริหารรายได้รายจ่าย รู้จักออมและลงทุนหรือหารายได้

นอกจากนั้นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ควรกระตุ้นให้เด็กมี

  • Commitment to learning มีความมุ่งมั่นทางการศึกษา
  • Positive values such as helping others and demonstrating integrity มีค่านิยมทางบวก เช่น การช่วยเหลือผู้อื่น แสดงความซื่อตรง มีคุณธรรมจริยธรรม
  • Social competencies such as knowing how to plan and make decisions and having interpersonal competencies like empathy and friendship skills มีวุฒิภาวะด้านสังคมหรือมีทักษะความสามารถในการเข้าสังคม สามารถคิดวางแผนและตัดสินใจในเรื่องต่างๆ สามารถจัดสัมพันธภาพกับผู้อื่น เช่น รู้สึกร้อนหนาวไปกับความทุกข์ของผู้อื่น มีทักษะในการสร้างมิตรภาพกับผู้อื่น
  • Positive identity such as sense of control over life and high self-esteem, positive sense of self and abilities, feeling of belonging and acceptance by family, peer group and wider society มีความรับรู้เกี่ยวกับตนเองทางบวก เช่น มีความรู้สึกว่าตนเองสามารถกำหนดแนวทางชีวิตของตนเองและรู้สึกว่าตนเป็นคนมีคุณค่ามีความสามารถ มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและได้รับการยอมรับจากครอบครัว กลุ่มเพื่อนและสังคม
  • Constructive use of time: engaging in creative activities three or more times a week, participating three or more hours a week in organized youth programs ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตน เช่น ร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมสามครั้งหรือมากกว่าในแต่ละสัปดาห์ ใช้เวลาร่วมทำกิจกรรมเด็กและเยาวชนสามชั่วโมงหรือมากกว่าในแต่ละสัปดาห์

รวมทั้งผู้ปกครองควรมี

  • Super vision/ Guidance & Boundaries: มีการชี้แนะแนวทางชีวิต ให้เด็กสามารถกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมด้านร่างกายจิตใจสังคมกับผู้อื่น มีพฤติกรรมที่ดีในการเข้าสังคม
  • Support/ Emotional warmth: เป็นที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้แก่เด็ก
  • Develop communication skills: ช่วยพัฒนาทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นให้แก่เด็ก
  • Understanding/Expression and reception of messages: มีความเข้าใจในตัวเด็ก/มีการแสดงออกและรับฟังซึ่งกันและกัน
  • Build up attachment สร้างความรักผูกพันระหว่างกัน /Time spent togetherใช้ชีวิตร่วมกัน / Expression and reception of feelings/การแสดงออก&รับรู้อารมณ์ความรู้สึกซึ่งกันและกัน
  • Encourage education achievement กระตุ้นส่งเสริมความสำเร็จทางการศึกษาของเด็ก
  • Conflict reduction/ encourage coping skill ลดความขัดแย้งและกระตุ้นส่งเสริมทักษะการจัดการปัญหา
  • Encourage social competencies such as knowing how to plan and make decisions and having interpersonal competencies like empathy and friendship skills: กระตุ้นส่งเสริมทักษะความสามารถในการเข้าสังคมสามารถคิดวางแผนและตัดสินใจในเรื่องต่างๆ สามารถจัดสัมพันธภาพกับผู้อื่นเช่นรู้สึกร้อนหนาวไปกับความทุกข์ของผู้อื่นมีทักษะสร้างมิตรภาพกับผู้อื่น
  • Support to resist peer and media pressures for drinking, smoking, risky activities and luxurious life style etc. สนับสนุนให้เกิดภูมิต้านทานต่อแรงกดดันของกลุ่มเพื่อนและสื่อต่างๆ ที่กระตุ้นการดื่มสุราการสูบบุหรี่ หรือพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย การใช้จ่ายเงินเกินตัว ฯลฯ ด้วยวิธีส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กค้นหาอัตลักษณ์ของตน (Identity) มีSense of self หรือการรับรู้เกี่ยวกับตนเองในทางที่ดีด้วยการให้ความดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของลูก เสริมสร้าง Autonomy หรือ Self esteem มีความเป็นตัวของตัวเองหรือมีความเชื่อมั่นรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำได้ด้วยการกระตุ้นให้กำหนดเป้าและวางแผนชีวิต ให้สำคัญต่อการสื่อสารและการขอความช่วยเหลือของลูกแสดงชื่นชมในความสำเร็จที่ลูกได้รับตามศักยภาพของตน

ข้อมูลจาก : เฟซบุ๊กส่วนตัวของ คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์

อินโฟกราฟิก : มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    : 285