ลูกไม่ใช่สมบัติของพ่อแม่!!

เพราะความคิดความเชื่อที่ว่า 'ลูกเป็นสมบัติของพ่อแม่' ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองบางคน มีวิธีการเลี้ยงดูลูกที่ส่งผลกระทบต่อทางร่างกายและจิตใจของเด็ก เช่น

  • คาดหวังกับลูกมากเกินไป ไม่ได้ใส่ใจว่าสิ่งที่พ่อแม่คาดหวังนั้นตรงกับความรู้สึก และความต้องการของลูกหรือไม่
  • ควบคุมลูกมากเกินไป ลูกต้องทำตามที่พ่อแม่สั่ง เดินตามเส้นทางชีวิตที่พ่อแม่กำหนดไว้
  • บังคับให้ลูกดูแลครอบครัว ให้ลูกหาเงินเลี้ยงพ่อแม่ ทดแทนบุญคุณ
  • ไม่ให้อิสระกับลูก ทั้งด้านความคิดและการกระทำ คิดว่า ลูกเชื่อและทำตามพ่อแม่บอกทุกอย่างจะดีเอง
  • ไม่มีพื้นที่ส่วนตัวลูก ผู้ปกครองเข้าไปก้าวก่ายเรื่องของลูกทุกๆ เรื่อง เช่น หยิบมือถือของลูกมาดูมาใช้โดยไม่ขออนุญาต  หรือยุ่งกับเรื่องส่วนตัวของลูก
  • ละเลยความต้องการของลูก ทั้งร่างกายและจิตใจ
  • แย่งอำนาจปกครองลูก เมื่อพ่อแม่มีปัญหากันและจะแยกทาง พ่อแม่แย่งกันดูแลลูก หรือบางครอบครัวปัดความรับผิดชอบให้อีกฝ่าย โดยไม่ได้ถามความรู้สึกหรือความต้องการของลูก
  • ใช้ความรุนแรงกับลูก เป็นที่ระบายหรือรองรับอารมณ์ เมื่อรู้สึกโกรธ ไม่พอใจ จะดุด่า หรือทำโทษลูก
  • ล่วงละเมิดทางเพศลูก

พ่อแม่ควรจะ

  • ให้การเลี้ยงดูขั้นพื้นฐาน หรือการดูแลในชีวิตประจำวัน เช่น จัดให้มีอาหาร น้ำดื่ม ความอบอุ่น ที่อยู่อาศัย ความสะอาดและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งการมีสุขอนามัยที่เหมาะสม เป็นต้น
  • ให้หลักประกันว่าลูกจะปลอดภัย ดูแลให้เด็กมั่นใจว่า จะได้รับการปกป้องจากภัยอันตรายทั้งทางกายภาพ หรือภัยจากบุคคล การกระทำความรุนแรงทุกรูปแบบ
  • ให้ความอบอุ่นทางอารมณ์ เป็นที่พึ่งทางใจให้ลูก ให้เด็กมั่นใจว่าได้รับการตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานทางอารมณ์ มีการสัมผัสทางกาย การปลอบโยนและการกอด อย่างเหมาะสมและพอเพียงที่จะทำให้เด็กรับรู้ถึงความอบอุ่น การชื่นชมและกำลังใจ
  • ให้การส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการทางความคิดของเด็ก ด้วยการกระตุ้นการคิด ให้กำลังใจและให้โอกาสทางสังคม เช่น เอื้อให้เด็กมีศักยภาพทางความคิด ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ การสื่อสาร สนับสนุนการเล่นและเล่นกับเด็ก
  • ให้คำแนะนำและขอบเขต เป็นแบบอย่างให้กับเด็ก ในการแสดงพฤติกรรม การควบคุมอารมณ์
  • ให้การปฏิบัติต่อเด็กอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เช่น ทำให้มั่นใจว่าความผูกพันจะดำรงอยู่ มีการตอบสนองทางอารมณ์ที่อบอุ่นสม่ำเสมอ การตอบสนองของพ่อแม่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปตามพัฒนาของเด็ก

อินโฟกราฟิก : มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    : 285