การทำร้ายจิตใจเด็ก (Emotional Abuse)  ถือเป็นการทารุณกรรมเด็กอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากผู้ปกครองหรือผู้ที่ดูแลเด็กปฏิเสธ  เฉยเมยไม่สนใจ หรือข่มขู่เด็ก ใช้คำพูดหรือการกระทำให้หวาดกลัว หรือการไม่ให้ความรักความเอาใจใส่ ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำซาก มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมของเด็ก

การทารุณกรรมทางจิตใจ สร้างความเสียหายอย่างยิ่งต่อความภาคภูมิใจในตนเองและสุขภาวะทางอารมณ์ของเด็ก

 ตัวอย่างของการทำร้ายทางจิตใจที่เด็กๆ ต้องเผชิญ

  • การปฏิเสธ (Rejection) การไม่ยอมรับในการมีตัวตนของเด็ก ไม่เห็นคุณค่า พูดให้เด็กฟังอยู่เสมอๆว่า เด็กเป็นคนไม่ดี เป็นคนเลว ไม่มีใครรัก แสดงท่าทางเกลียดชังเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กแตกต่างจากคนอื่นๆ ในครอบครัว แสดงความรังเกียจ ดูถูกเหยียดหยาม
  • การทำให้เด็กหวาดกลัว (Terrorizing) ข่มขู่ว่าจะลงโทษ ทำร้าย บังคับให้เด็กอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากลัวและเป็นอันตราย ให้เด็กได้พบเห็นเหตุการณ์ที่ทารุณจิตใจเด็ก เช่น การทำร้ายร่างกายหรือทะเลาะเบาะแว้งอย่างรุนแรงระหว่างบิดามารดา  ทำร้ายร่างกายบุคคลหรือสัตว์เลี้ยงที่เด็กรัก ข่มขู่ว่าจะไล่เด็กออกจากบ้าน
  • การแยกและกักกันเด็ก (Isolation) กักขังแยกเด็กออกจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสังคมรอบด้าน จำกัดสิทธิเสรีภาพของเด็กออกจากสิ่งแวดล้อมรอบด้าน
  • การเฉยเมยต่อเด็ก (Ignoring) ไม่สนใจเด็ก ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของเด็ก ไม่ให้ความรักความเอาใจใส่เด็ก
  • การเอาเปรียบ/แสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก (Ignoring) ไม่สนใจเด็ก ไม่ค่อยตอบสนอง ต่อความต้องการของเด็ก ไม่ให้ความรักความเอาใจใส่เด็ก
  • การเอาเปรียบ/แสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก (Corruption/Exploiting) การให้เด็กยอมรับความคิดหรือกระทำในสิ่งที่ผิดกฎเกณฑ์หรือกฎหมาย เช่น  ให้เด็กลักขโมย ให้เด็กติดสารเสพติด การใช้หรือขายแรงงานเด็ก   แสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ ให้เด็กขายบริการทางเพศ
  • การทารุณกรรมเด็ก มักเกิดขึ้นซ้ำซาก มีผลกระทบต่อเด็กอย่างรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ เด็กอาจตัวเล็กเลี้ยงไม่โตจากการขาดความรัก มีผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางสังคม ทำให้ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ขาดความนับถือตนเอง ไม่สามารถแสดงอารมณ์ต่อผู้อื่น มีความประพฤติก้าวร้าว

ผลร้ายที่เกิดขึ้นกับเด็ก

การทารุณกรรมจิตใจ อาจสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเด็กและมีผลตามมาตลอดชีวิต  นี่คือผลกระทบด้านลบบางประการที่เด็กอาจได้รับ:

  • ความยากลำบากทางความคิด เช่น ความยากลำบากในการให้ความสนใจ การเรียนรู้ และการจดจำ
  • ภาวะสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) และการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ
  • ความยากลำบากทางอารมณ์ รวมถึงความยากลำบากในการตีความ การสื่อสาร การประมวลผล และการควบคุมอารมณ์
  • การใช้สารเสพติด เช่น แอลกอฮอล์ นิโคติน หรือยาเสพติดตั้งแต่อายุยังน้อย
  • ปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ทำตัวแปลกแยก ทำตัวแปลกๆ หรือพยายามทำให้ผู้อื่นพอใจ
  • การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและความอยากอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการรับประทานอาหาร และการขาดสารอาหาร
  • ปัญหาการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับหรือฝันร้าย
  • ความปวดเมื่อยตามร่างกายที่ไม่มีสาเหตุอื่นที่มองเห็นได้และดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นเมื่อรักษา

ข้อมูลจาก :

คู่มือปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในกระบวนการคุ้มครองเด็ก

https://kidshelpline.com.au

https://www.verywellmind.com

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    1,019