การดูแลจิตใจของผู้ดูแลเด็ก ระดับครอบครัวและชุมชนในภาวการณ์ระบาดโควิด-19
ภาวะวิกฤต หรือสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อความสมดุลทางอารมณ์และจิตใจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จนทำให้ไม่สามารถใช้วิธีคิดหรือการปฏิบัติตนในภาวะปกติมาจัดการได้ จึงมีเทคนิคที่ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตจะต้องดูแลตนเอง เพื่อให้มีความสามารถในการจัดการกับอารมณ์และจิตใจ ในการปรับตัวและฟื้นตัวคืนสู่ภาวะปกติ เพื่อสามารถดูแลตนเองและคนที่อยู่ในความดูแลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก จะช่วยให้พวกเขาดำเนินชีวิตต่อไปในทางที่ดี เมื่อผ่านภาวะวิกฤตนั้นไปได้ โดยมี 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
1.เข้าใจสัญญาณของภาวะเครียดและผลกระทบของภาวะเครียดของตนเองและเด็ก ในครอบครัว เทคนิคสำคัญ
- หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย จิตใจ พฤติกรรมที่เกิดจากความเครียด
- ยอมรับ และพยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ทำให้เครียดโดยเร็ว
2.จัดการกับความเครียดของตนเองและเด็กในครอบครัวเป็นประจำ เทคนิคสำคัญ 5 ปรับ
- ปรับอารมณ์
- ปรับความคิด
- ปรับการกระทำ
- ปรับเป้าหมาย
- ปรับสิ่งแวดล้อม
3.เติม สร้างเสริมความสามารถในการสร้างพลังสุขภาพจิต เทคนิคสำคัญ 3 เติม
- เติม ศรัทธา
- เติมมิตร
- เติม จิตใจให้กว้าง
4.หาช่องทางการปรึกษา เพื่อดูแลจิตใจและการได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เมื่อพบความผิดปกติทางจิตใจที่ไม่สามารถรับมือได้ เทคนิคสำคัญ
- พูดคุย ระบายกับคนที่ไว้ใจ
- รับบริการทางสุขภาพจิต ไม่ว่าจะเป็นสายด่วน เช่น 1667 1323 หรือ การเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ข้อมูล : คู่มือการสนับสนุนทางจิตใจ และจิตสังคม สำหรับเด็กและครอบครัว ระดับชุมชน ในภาวการณ์ระบาดโควิด-19
อินโฟกราฟิก มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก