นักเรียนหยุดเรียน…แต่ความปลอดภัยในโรงเรียนหยุดไม่ได้
ปีนี้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย เด็กๆ ส่วนใหญ่เรียนระบบออนไลน์หรือทำงานจากชุดการเรียนที่แต่ละโรงเรียนออกแบบให้กับนักเรียนตามบริบทของแต่ละโรงเรียน แม้เด็กๆ จะหยุดเรียนอยู่บ้าน แต่คุณครูหลายๆ คนในโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนคุ้มครองเด็ก ต้องสลับหมุนเวียนกันเข้ามาปฏิบัติงานในโรงเรียน โดยหนึ่งในเหตุผลที่คุณครูต้องเข้ามาในโรงเรียน คือ เรื่อง “ความปลอดภัย….ในโรงเรียน” โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากแหล่งทุนPartage ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีเครือข่ายโรงเรียนคุ้มครองเด็ก 132
การรังแกไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
จากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ยอดของผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากขึ้นในทั่วภูมิภาค มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กจึงต้องมีการปรับวิธีการทำงาน จากการลงพื้นที่โรงเรียน และชุมชนต่างๆ เป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ขึ้น ซึ่งหลักสูตรการป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน ก็เป็นหนึ่งในหลักสูตรที่มูลนิธิฯได้จัดขึ้น ซึ่งหลายโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมอบรมออนไลน์ ก็ได้นำไปต่อยอดทำกิจกรรมกับบุคลากรครู และนักเรียนในโรงเรียนของตนเองในรูปแบบที่ต่างกันออกไป คุณครูมลฤดี คำภาษี คุณครูโรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม จังหวัดอุดรธานี ได้นำไปขยายผลกับโรงเรียน โดยเริ่มจากสร้างความเข้าใจให้บุคลากรครูเข้าใจถึงความหมายและรูปแบบการรังแก วิธีการป้องการรังแกกัน
เสียงสะท้อนจากโรงเรียนคุ้มครองเด็ก กับการช่วยให้เด็กๆปลอดภัย
โรงเรียนบ้านเกาะพลวย เป็นโรงเรียนเล็กๆที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะสมุย ชื่อว่าเกาะพลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด 6 คน นักเรียน 61คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้บริหารสถานศึกษาคือนางสาวจรรยา เจ๊ะเหยง การเดินทางไปโรงเรียนนี้ต้องนั่งเรือโดยสารจากอำเภอดอนสักไปยังเกาะพลวยใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที และเดินทางโดยรถต่อไปอีก
#วิกฤตนี้เราไม่ทิ้งกัน
ท่ามกลางภาวะวิกฤตจากการระบาดของโควิด-19 เด็กและครอบครัวในชุมชนเมืองกรุงเทพมหานครได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลายครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อและถูกกักตัว หลายครอบครัวตกงานเนื่องจากสถานประกอบการปิดตัว ขาดรายได้ในการดูแลสมาชิกในครอบครัว ซึ่งครอบครัวที่ได้รับผลกระทบมีรายได้หลักมาจากการรับจ้างรายวันโดยไม่มีความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐแต่อย่างใด โครงการชุมชนคุ้มครองเด็กจึงได้ประสานงานกับคณะทำงานในชุมชนโครงการชุมชนคุ้มครองเด็กสำรวจครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วน มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กได้เปิดรับธารน้ำใจจากภาคธุรกิจและผู้ใหญ่ใจดีในสังคม ทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง ของใช้ในครัวเรือน ขนม นมจัดเป็นถุงยังชีพส่งมอบให้กับชุมชน 138 ชุด และ ส่งมอบนม ขนม
ถุงพาเพลิน..ถุงเติมสุขครอบครัว
“ครูขา..ครูขา หนูมีงานทำแล้ว เสียงเจื้อยแจ้วของเด็กหญิงตัวเล็กๆ ตะโกนมาจากหลังต้นไม้” เราจึงหยุดและหันไปมองตามต้นเสียง เจ้าของเสียงเรียกเป็นเด็กหญิงคนหนึ่งที่เคยมาทำกิจกรรมที่บ้านพาเพลิน ของมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก นั่นเอง เด็กหญิงตัวน้อยโชว์ถุงพาเพลิน #เล่นอยู่บ้านต้านโควิด-19 ถุงกิจกรรมที่ได้รับจากมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กพร้อมกับหยิบหนังสือนิทานเรื่องจับกินให้หมด ออกมา พร้อมกับบอกว่า “หนูอ่านจบแล้ว มันทำให้หนูอยากปลูกผัก พร้อมกับหยิบเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ในถุงกิจกรรมออกมาให้เราดู สักพักแม่ของเด็กเดินมาสมทบแล้วชี้ชวนให้เราชมสวนผักสวนครัวของครอบครัวในพื้นที่ขนาดเล็ก คุณแม่ของเด็กน้อยหาภาชนะและวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นภาชนะในการปลูกต้นไม้ที่เป็นสวนผักแนวดิ่ง
ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี สนับสนุนถุงพาเพลินฯ
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี ทั้งจากประชาชนทั่วไปและหน่วยงานธุรกิจเอกชนที่ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานเพื่อให้มูลนิธิฯ นำไปบรรจุลงใน “โครงการถุงพาเพลิน เล่นอยู่บ้านต้านโควิด-19” ส่งมอบให้เด็กในโรงเรียนคุ้มครองเด็กและเด็กกลุ่มเปราะบางที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล บริษัท เดอร์มา อินโนเวชั่น จำกัด บริจาค เจลล้างมือ 30 ML. รวม 2,500 หลอด บริษัท
“ถุงพาเพลินเล่นอยู่บ้านต้านโควิด-19” พร้อมส่งถึงมือเด็ก ๆ แล้ว
"การเล่นและสันทนาการมีความจำเป็นต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเด็ก การเล่นช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นการสร้างคุณค่าภายในตนเองที่เด็กสามารถทำได้เองเพื่อให้ตนเองมีความสนุกและความพอใจ" ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เด็ก ๆ ถูกจำกัดพื้นที่ให้เล่นอยู่ในบ้าน โรงเรียนยังไม่เปิดเรียน เด็กหลายคนไม่มีของเล่น พ่อแม่ ผู้ปกครองจำนวนหนึ่งไม่มีอุปกรณ์ที่จะทำกิจกรรมกับลูก นี่เป็นที่มาของการจัดทำ "ถุงพาเพลินเล่นอยู่บ้านต้านโควิด-19" ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี ในถุงพาเพลินฯ