มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทยเชิญ  ร่วมกันรณรงค์ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 66 ของโลกที่ไม่ลงโทษทางกายต่อเด็ก
ถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครองทราบถึงผลกระทบต่อเด็กที่ถูกลงโทษทางกาย สร้างบาดแผลทางใจส่งผลต่อชีวิตในระยะยาว เกิดความผิดปกติของพฤติกรรม ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความสิ้นหวัง ความนับถือตนเองต่ำ การทำร้ายร่างกาย การพยายามฆ่าตัวตาย การติดแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ความมั่นคงทางอารมณ์ซึ่งดำเนินต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ความบกพร่องทางสติปัญญา พัฒนาการทางอารมณ์ การใช้ความรุนแรง ฯ
เชื่อมั่นว่า พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะไม่ลงโทษทางกายต่อเด็ก ฯลฯ
ทั่วโลกรณรงค์ให้ยุติการลงโทษทางกายต่อเด็ก โดยในแต่ละประเทศทบทวนปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศนั้นไม่มีการลงโทษทางกายต่อเด็ก
ปัจจุบันมี 65 ประเทศแล้ว
ในปี พ.ศ.2555 คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาติเสนอให้ประเทศไทย
กำหนดเป็นกฎหมายห้ามการลงโทษต่อร่างกายเด็กในบ้านและสถานดูแลเด็กทางเลือกโดยชัดแจ้งทั้งนี้รวมถึงการลงโทษเพื่อสร้างวินัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
” มาตรา 1567
ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน”
เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าวิธีการทำโทษบุตรจะไม่ใช้ความรุนแรง
คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานของรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ …
แก้ไขมาตรา 1567 ” (2) ทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนได้ตามสมควร ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีเฆี่ยนตี ทำร้ายจิตใจหรือวิธีอื่นใดในทำนองเดียวกัน”
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ส่งเรื่องให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการเพื่อแก้ไขกฎหมายตามขั้นตอนต่อไป
วันนี้ 13 พฤศจิกายน 2566
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กร่วมกับเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย จัดการประชุมเพื่ออภิปรายเชิงวิชาการ
หัวข้อ “การยุติการลงโทษทางกายทุกรูปแบบต่อเด็ก เพื่อผลักดันให้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (2)” พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แจ้งว่าจะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนการเสนอแก้ไขกฎหมายโดยได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ผู้เข้าประชุม
การแก้ไขกฎหมายใช้เวลา สิ่งที่จำเป็นต้องทำควบคู่กันไปคือ การสื่อสารสร้างความเข้าใจ ส่งเสริมสนับสนุนให้พ่อแม่
ผู้ปกครองเลี้ยงดู สั่งสอน สร้างวินัยโดยไม่ใช้ความรุนแรง
ขอขอบคุณวิทยากร
Ms. Bess Herbert
อ.พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ และผู้เข้าร่วมประชุมที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกคน
วันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในการยุติการลงโทษทางกาย
ยุติความรุนแรงต่อเด็ก

อัลบั้มภาพ

: 285